5 สาขาหลัก ของคณะทางคอมพิวเตอร์ มีอะไรบ้าง?

5 สาขาหลัก ของคณะทางคอมพิวเตอร์ มีอะไรบ้าง?

.
5 สาขาหลัก ของคณะทางคอมพิวเตอร์ มีอะไรบ้าง?
1) วิศวะคอม (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์)
เดิมที่เป็นสาขาเฉพาะอยู่ในสาขาวิศวะไฟฟ้า
แต่ต่อมาช่วงหลังปี ค.ศ. 1990
จึงมีการเพิ่มเติมเนื้อหาด้านซอฟต์แวร์เข้าไป กลายเป็นวิศวะคอม
.
อาจมองว่าวิศวะคอม เป็นลูกครึ่งก็ได้
ระหว่างวิศวกรรมไฟฟ้า+วิทยาการคอมพิวเตอร์
.
ถ้าใครสนใจ IoT (Internet of Things)
หรือระบบสมองกลฝังตัว (embedded system)
ถ้ามาสายนี้ คือตรงสายแหละครับ
.
สำหรับสาขานี้จะมีวิชาบังคับที่ไม่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์จำนวนมาก
โดยส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับวิชาฟิสิกส์ เคมี คณิตศาสตร์
และวิศวกรรมพื้นฐาน
.
? จบออกมาวุฒิที่ได้เป็น วิศกรรมศาสตรบัณฑิต
*** และสิ่งต้องควรรู้ไว้ วิศวะคอมจะไม่มีการสอบใบ กว. นะครับ (ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม)
.
2) วิทย์คอม (วิทยาการคอมพิวเตอร์)
ถ้าเรียกตามชื่ออังกฤษ ก็คือ วิทยาศาสตรคอมพิวเตอร์
.
จะเน้นทฤษฎีการคำนวณสำหรับคอมพิวเตอร์ และทฤษฎีการประมวลผลสารสนเทศ ทั้งด้านซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และ เครือข่าย
.
แต่เนื่องจากถ้าเรียนแบบนั้น
ก็คงจะเป็นได้แค่ นักวิจัยกับอาจารย์มหาวิทยาลัย
จึงต้องมีการประยุกต์ให้เข้ากับตลาดแรงงานด้วย
.
สาขานี้ ยังคงเรียนวิชาฟิสิกส์ เคมี คณิตศาสตร์
แต่จะต่างกับวิศวะคอม
ตรงที่ไม่มีวิชาพื้นฐานวิศวกรรม และความรู้ด้านวิศวะไฟฟ้า
.
? จบออกมาวุฒิที่ได้เป็น วิทยาศาสตรบัณฑิต
.
3) วิศวะซอฟต์แวร์ (วิศวกรรมซอฟต์แวร์)
.
วิศวะซอฟต์แวร์เป็นศาสตร์ที่นำหลักวิศวกรรม
มาใช้ในการควบคุมการผลิตซอฟต์แวร์
.
ตั้งแต่การเริ่มเก็บความต้องการ การตั้งเป้าหมายของระบบ การออกแบบ
กระบวนการพัฒนา การตรวจสอบ การประเมินผล
การติดตามโครงการ การประเมินต้นทุน การรักษาความปลอดภัย
ไปจนถึงการคิดราคาซอฟต์แวร์เป็นต้น
.
ถ้ามองไม่เห็นภาพ
อาจมองว่างานผลิตซอฟต์แวร์ มันซับซ้อน ใช้แรงงานหลายฝ่ายเยอะ
จึงไม่ต่างกับโรงงานอุตสาหรรม
ด้วยเหตุนี้จึงต้องนำกระบวนการทางวิศวกรรม มาช่วยควบคุมการผลิต
.
คนเรียนสายนี้
ถ้าไปทำงานบริษัทพวกซอฟต์แวร์เฮาท์
หรือก็คือบริษัทที่รับผลิตซอฟต์แวร์โดยตรง
จะถือว่าตรงสายมากๆ
.
เพราะนอกจากเป็นโปรแกรมเมอร์ได้แล้ว
ยังสามารถก้าวเป็น tester, SA (System Analyst), QA, Project manager
และตำแหน่งอื่นๆ ในสายงานผลิตซอฟต์แวร์ได้อีกเยอะเลย
.
แม้ว่าชื่อสาขาจะขึ้นต้นด้วยวิศวะก็จริง
? แต่จบออกมาวุฒิที่ได้เป็น วิทยาศาสตรบัณฑิต
(่บางที่ได้วุฒิ วิศกรรมศาสตรบัณฑิต)
.
4) สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT: Information Technology )
หรือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT: Information Technology and Communication)
.
หรือทีเรียกกันสั้นๆ ว่า คณะไอที
.
สาขานี้จะประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคม
เพื่อจัดเก็บ ค้นหา ส่งผ่าน และจัดดำเนินการข้อมูล
ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับธุรกิจหนึ่งหรือองค์การอื่น ๆ
.
คณะไอทีจะนำองค์ความรู้ ทาง IT
มาแก้ปัญหาองค์กร หา solution ได้ ใช้เลย
หากหาได้แต่ไม่เหมาะ ให้ปรับจูน
หากหาไม่ได้ให้สร้างใหม่
โดยจะเน้นการประยุกต์ใช้งานมากกว่าสาขาวิชาอื่น
.
? จบออกมาวุฒิที่ได้เป็น วิทยาศาสตรบัณฑิต
.
5) สาขาระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ หรือสาขาระบบสารสนเทศ
หรือบางที่ใช้ชื่อ
คอมพิวเตอร์ธุรกิจ (Business Computer:BC)
ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ (Business Information System: BIS)
.
การเรียนเป็นลูกครึ่ง
ซึ่งจะแบ่งครึ่งระหว่าง
วิทยการคอมพิวเตอร์ + บริหารธุรกิจ
.
? จบออกมาวุฒิที่ได้เป็น บริหารธุรกิจบัณฑิต
ถ้าไปสมัครรับราชการตำแหน่งนักวิชาการคอมฯ จะไม่มีเปิดรับวุฒินี้โดยตรง
แต่ทั้งนี้ก็อย่างที่หลายคนคอมเมนต์มา
สามารถสมัครตำแหน่งนักวิชการคอมฯ ได้อ้อมๆ
โดยกพ. เขาจะใช้วิธีนับหน่วยกิต
ถ้าเรียนวิชาทางคอมพิวเตอร์เกิน 30 หน่วยกิต ก็สามารถทำได้
.
 

.
***** แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น
คอมพิวเตอร์ทุกสาขาหนีการเขียนโปรแกรมไม่พ้นครับ
เป็นโปรแกรมเมอร์ได้หมด
:
ชื่อแต่ละสาขาในภาษาอังกฤษ
CE: Computer Engineering
CS: Computer Science
SE: Software Engineering
IT: Information Technology
ICT: Information Technology and Communication
IS: Information Systems
BIS: Business Information System
BC:Business Computer
.

.
ที่มา
Computing Curricula 2005 The Overview Volume on Undergraduate Degree Programs in Computing

หนังสือ “กว่าจะเป็นวิศวกรคอมพิวเตอร์” โดย คุณ “อนุภาค มาตรมูล”

https://th.wikipedia.org/wiki/การคอมพิวเตอร์

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2552

 เขียนโดยแอดมินโฮ โอน้อยออก

Please like Fanpage