เทคโนโลยีพลิกโฉมโลก

เทคโนโลยีพลิกโฉมโลกอนาคต มีอะไรบ้างที่ควรรู้ไว้?

เทคโนโลยีที่ว่า เขามีศัพท์เรียกเฉพาะคือ “Disruptive Technology”
ถ้าเอาเฉพาะคำว่า disrupt จะหมายถึง “ทำลาย ทำให้กระจัดกระจาย ทำให้ยุ่ง”
แต่เมื่อรวมเป็น Disruptive Technology ก็คงหมายถึง เทคโนโลยีคลื่นลูกใหม่ ซึ่งมาแทนที่แบบเดิมๆ แล้วกระทบต่อการดำเนินชีวิตผู้คน อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้?


ซึ่งไม่ใช่คำที่ไม่ดีแต่อย่างใด ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ?

 

-รถยนต์มาแทนที่ม้าเกวียน
-มือถือมาแทนที่ตู้ยอดเหรียญสาธารณะ และเพจเจอร์สมัยก่อน
-กล้องถ่ายรูประบบดิจิตัลมาแทนที่กล้องถ่ายรูปแบบฟิล์ม
-เห็นชัดๆ ก็อินเตอร์เนต ที่แทบจะฆ่าหลายสิ่งในโลกออฟไลน์
-และอีกหลายๆ ตัวอย่าง ที่ไม่ได้เอ่ย


แล้วเทคโนโลยีอะไรที่ถือว่าเป็น Disruptive Technology?

เรื่องนี้มีการกล่าวถึงใน แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ แห่งชาติ ฉบับล่าสุดของบ้านเรา (**1) อย่างชัดเจน ได้แก่

(1) อินเทอร์เน็ตเคลื่อนที่

(2) โปรแกรมอัจฉริยะที่สามารถคิดและทำงานแทนมนุษย์
…ก็คือปัญญาประดิษฐ์ (AI)

(3) อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่งทุกอย่าง (Internet of Things)
…หรือก็คือ IoT

(4) เทคโนโลยีคลาวด์ (Cloud Technology)
…แปลเป็นไทยก็คือ ?ระบบคอมพิวเตอร์แบบหมู่เมฆ? อาจงง

มันคือการที่เราใช้ซอฟต์แวร์, ระบบ, และทรัพยากรของเครื่องคอมฯ จากผู้ให้บริการอื่นๆ (ผ่านอินเทอร์เน็ต) ซึ่งช่วยทำให้ธุรกิจขนาดเล็กๆ สามารถแข่งขันกับยักย์ใหญ่ได้ โดยไม่ต้องลงทุนเรื่องฮาร์ดแวร์ให้มากนัก

(5) เทคโนโลยีหุ่นยนต์ขั้นก้าวหน้า (Advanced Robotics)
…เช่น นำหุ่นยนต์ไปช่วยหมอผ่าตัด นำไปใช้ในโรงงาน

(6) ยานพาหนะไร้คนขับ (Autonomous and Near-Autonomous Vehicles)
…เช่น สร้างรถยนต์ มอไซต์ เครื่องบิน เรือดำน้ำ ที่ไร้คนขับ เป็นต้น

(7) เทคโนโลยีพันธุกรรมสมัยใหม่?(Next-Generation Genomics)
… เช่น พัฒนายีนรักษาโรค

(8) เทคโนโลยีการเก็บ พลังงาน (Energy Storage)
…เช่น พัฒนาแบตเตอรี่ ลิเทียม ไอออน และลิเธียม พอลิเมอร์ ที่มีประสิทธิภาพสูง

(9) การพิมพ์แบบสามมิติ (3D Printing)
…มันเป็นเครื่องปรินเตอร์?(เครื่องจักรแบบหนึ่ง) ที่ใช้พิมพ์วัสดุให้มีความกว้าง ความลึก ความสูง ตามแบบที่เราวาดไว้ในคอม

ตัวอย่าง บริษัท Apis Cor ในประเทศรัสเซีย ใช้เครื่องพิมพ์แบบสามมิติสร้างบ้านสำเร็จรูป ภายในวันเดียว

(10) เทคโนโลยีวัสดุขั้นก้าวหน้า
…เช่น วัสดุที่ทำความสะอาดตัวเอง วัสดุที่กลับคืนสู่สภาพเดิมเสมอ

(11) เทคโนโลยีการขุดเจาะน้ ามันและก๊าซขั้นก้าวหน้า
…ทำให้การบุกเบิกขุดค้นหาน้ำมันและก๊าซ ทำได้เพิ่มมากขึ้น

(12) เทคโนโลยีพลังงานทดแทน
…เช่น พลังแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ

*** หมายเหตุ 12 ข้อนี้จะเหมือนกับ McKinsey Global Institute ที่ระบุไว้

นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่น่าสนใจในแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ อย่างภาคการเงิน

– จะมีการส่งเสริมเทคโนโลยีทางการเงิน หรือที่เรียกกันติดปากว่าฟินเทค (FinTech) ซึ่งมาจากคำว่า Finance กับคำว่า Technology
– จะมีการส่งเสริมเรื่อง E-Money/E-Payment
– ในแผนได้พูดถึงบทบาทเงินตราเสมือนจริง (Virtual Currency) เช่น Bitcoin

ตามที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ในแผนก็บอกตรงๆ ว่าเทคโนโลยีบางอย่าง บ้านเรายังขาดศักยภาพในการพัฒนา ขณะที่บางอย่างเราก็ถนัด สามารถพัฒนาได้

ถ้าอันไหนไม่ถนัด ก็อาจใช้วิศวกรรมย้อนกลับ (Reverse Engineering) ช่วยเร่งพัฒนาเทคโนโลยีพวกนี้ให้เกิดขึ้นได้


แล้วหน่วยงานราชการ ได้รับผลกระทบอะไรบ้าง?

ถ้าเป็นในภาครัฐจะมีแผน (**3) ดันตัวเองให้เป็นรัฐบาลดิจิตัล ดังเช่น ประเทศเกาหลีใต้ หรือสิงคโปร์ หรือเอสโตเนีย ที่นำหน้าเราไปไกลนานแล้ว

ซึ่งเทคโนโลยีไอทีในอนาคต ที่ภาครัฐอาจนำไปใช้ เช่น (มีเขียนระบุไว้อย่างชัดเจน)

1) Augmented Reality (หรือ AR) / Virtual Reality (หรือ VR)

AR เป็นเทคโนโลยีที่เชื่อมโลกเสมือนจริง เข้ากับโลกความจริง ตัวอย่างดังๆ ก็เกม Pokemon Go

VR เป็นเทคโนโลยีที่จำลองโลกเสมือนจริง เช่น การจำลองการขับเครื่องบิน ซึ่งจะต่างจาก AR …ตรงที่ VR จะตัดเราออกจากโลกความจริง

2) Advanced Geographic Information System
…หรือก็คือ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ที่ก้าวหน้ากว่าเดิม

3) Big Data
…คือข้อมูลขนาดใหญ่ ที่ต้องอาศัยเทคโลยี machine learning มาวิเคราะห์ข้อมูล

ตัวอย่างการใช้ เช่น ใช้ข้อมูลจากกล้องบนท้องถนน?เพื่อนำมาบริหารการจราจรให้ดีขึ้น

4) Open Any Data
…คือการเปิดเผยข้อมูล (Open Data) ที่เป็นประโยชน์
ตัวอย่างการใช้ เช่น เปิดเผยการใช้จ่ายและจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ

5) Smart Machines / Artificial Intelligence
…ก็คือปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI
ตัวอย่างการใช้ เช่น เอา AI มาทำบัญชีการใช้จ่ายของภาครัฐ

6) Cloud Computing
ตัวอย่างการใช้งาน เช่น ระบบงบประมาณของรัฐ ก็จะไปใช้บน cloud

7) Cyber Security
…ก็คือ ความปลอดภัยทางไซเบอร์

8) Internet of Things (IoT)
ตัวอย่างการใชั เช่น รถยนต์ติดเซนเซอร์ เพื่อส่งข้อมูลไปเก็บยังศูนย์จราจรของรัฐ

9) Block Chain / Distributed Ledger Technology …
ตัวอย่างการใช้ เช่น โรงพยาบาลเก็บข้อมูลสุขภาพของประชาชนโดยใช้ block chain

…เอาเป็นว่าถ้าทำตามแผนพัฒนานี้ได้จริงๆ นะ อาจเห็นการ disrupt ของวงการราชการในอนาคตก็เป็นได้ (เป็น Disruptive Technology ในด้านไอทีโดยเฉพาะ)


แล้วในภาคเอกชน รัฐมีแนวโน้มสนับสนุนเทคโนโลยีพวกนี้อย่างไร?


บทบาทของรัฐจะเป็นแค่ผู้ให้ความสะดวก สนับสนุนมากกว่า เพื่อดันภาคประชาน และภาคธุรกิจ ให้สองฝ่ายร่วมมือกันพัฒนาเทคโนโลยีดิจิตัล

(ถ้าไปดูแผนพัฒนาดิจิทัลฯ **2 จะเขียนบอกไว้)

 

ถ้าดูสิ่งที่เกิดขึ้น?หลังจากแผนพัฒนาพวกนี้เกิดขึ้นมา เช่น

– ปัจจุบันมีการเปิดเผยคลังข้อมูลของภาครัฐ เพื่อให้คนทั่วไปเข้าถึงได้?(https://data.go.th/)
– ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ประกาศมาตรฐานชำระเงินด้วยรูปแบบ QR code
– มีการร่าง พ.ร.บ. ฟินเทค
– มีการร่าง พ.ร.บ. ส่งเสริม start up (start up แปลเป็นไทยก็ “วิสาหกิจเริ่มต้น” ธุรกิจแนวนี้จะพบเห็นได้ในพวกธุรกิจเทคโนโลยีหรือนวัตกรรม)
– ประกาศแผน “เศรษฐกิจชีวภาพ ( Bioeconomy)”
– ทำเครื่อข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ
– จัดตั้งโครงการมหาวิทยาลัยไซเปอร์ เปิดให้เรียนคอร์ออนไลน์ฟรี?(http://www.thaicyberu.go.th/)
– และอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึง

 

สำหรับปัญหาอุปสรรคต่อการพัฒนา ตัวอย่างด้านไอที

-อินเตอร์ในประเทศยังไม่ครอบคลุม เหมือนอย่าง ถนน ไฟฟ้า น้ำประปา
-ปัญหาแรงงานคนไอทีขาดแคลน อย่างรุนแรงและต่อเนื่อง
-คนรุ่นใหม่เห็นว่าสาขาไอทีเรียนยาก และเห็นว่ารายได้ก็ไม่สูงมา
-คนไม่นิยมเรียนด้านวิทย์คอม และวิศวะคอม เพราะเป็นสาขาที่ยาก แต่ส่วนใหญ่เรียนคอมพิวเตอร์ธุรกิจ และเทคโนโลยีสารสนเทศ มาก
-คนไอทีรุ่นใหม่ เปลี่ยนงานบ่อย ขาดความอดทน อยากประกอบอาชีพอิสระ เป็นเจ้าของธุรกิจ
-คนไอทีมีคุณภาพมีน้อย ถ้าใครเก่งก็จะเกิดการแย่งตัว ทำให้เงินเดือนสูง
-เด็กรุ่นใหม่ไม่สนใจทำงานราชการ
-ครูที่เชียวชาญมีน้อย โรงเรียนมีคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์การสอนไม่พอ


ปัญหาและอุปสรรคอื่นๆ

-ปัญหาปัญาคอรัปชั่น ในภาครัฐ
-ภัยคุกคามจากอินเตอร์เน็ต
-ข้อกฏหมาย กฏเกณฑ์ และระเบียบต่างๆ ที่เป็นอุปสรรค
-และ ฯลฯ ที่ไม่ได้กล่วถึง

ข้อกังวลเหล่านี้ มีเขียนระบุไว้อยู่แล้วในแผนพัฒนาพวกนี้
ซึ่งเขาก็วางกรอบการพัฒนา/แก้ปัญหาไว้ ประมาณหนึ่ง
แต่การนำแผน ออกมาใช้งานจริง แก้ปัญหาพวกนี้อย่างไร ก็คงต้องเฝ้าติดตามต่อไป

??ซึ่งไม่รู้หรอกครับว่า เทคโนโลยีพวกนี้ที่กล่าวมา บ้านเราจะพัฒนาไปไกลหรือไม่?
หรือจะเดินช้ากว่าชาวบ้านเขากันแน่ เพราะอุปสรรคบ้านเรามีเยอะ แก้ยากเหมือนกันนะ

อีกทั้งกรอบพัฒนาเขาวางไว้ยาวๆ 20 ปี ไม่รู้จะหมู่หรือจ่า ทำนายอนาคตไม่ถูกแฮะ

แต่ในฐานะคนสายเทคโนโลยีอย่างเราๆ รวมทั้งสาขาอื่นด้วย ก็ต้องปรับตัวตามโลกให้ทัน เพราะถ้าเทคโนโลยีเปลี่ยนที?ก็กระทบต่อชีวิตผู้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

-ซึ่งอาจทำให้บางอาชีพล้มหายตายจากไป
-หรือความรู้ที่เราเคยคิดว่าเป็นที่หนึ่งในตองอู สักวันอาจล่าสมัยจนหมดอายุ
-หรือเกิดอาชีพสายพันธ์ใหม่ๆ ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด
-หรือจะเป็นโอกาสสร้างเนื้อสร้างตัว เปลี่ยนชีวิตใครสักคนตลอดกาล ใครจะไปรู้ล่ะ

??สุดท้ายขอให้ทุกท่านโชคดีกับโลกอนาคตที่กำลังมาเยือนครับ

 

########################

 

ที่มาข้อมูล
**1 “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๔)”
http://www.nesdb.go.th/ewt_news.php?nid=6420
**2 “แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม” (เห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๙)
http://www.mict.go.th/assets/portals/1/files/590613_4Digital_Economy_Plan-Book.pdf
**3 “(ร่าง) แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔”
https://www.ega.or.th/th/profile/2040/

 

เครดิตรูปComputerizer (https://pixabay.com/)

 

เขียนโดย แอดมินโฮ โอน้อยออก