มาดูกัน ! สายงานไอทีมีอะไรบ้าง

สายงานด้านไอที

สำหรับสายงานด้านไอทีปัจจุบันมีให้เลือกสมัครจำนวนมาก รวมทั้งมีตำแหน่งงานมากที่สุดแทบจะว่าได้สำหรับอัตตราเงินเดือนของคนทำงานสายไอที อันนี้น่าจะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้สมัครเอง การเรียกอัตตราเงินเดือนนั้นขึ้นอยู่กับฐานบริษัทเป็นหลัก

1.สายผู้บริหารไอที (IT Management)

สำหรับอาชีพสายผู้บริหารสารสนเทศขององค์กร จำเป็นเป็นต้องเป็นผู้มีประสบการณ์ในการทำงานมาพอประมาณน่าจะไม่ต่ำกว่า 5 ปี สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก-ขนาดกลางตำแหน่งสูงสุดน่าจะเป็น IT/MIS Manager ส่วนองค์กรขนาดใหญ่ต่ำแหน่งระดับสูงที่ดูแลส่วนไอทีจะใช้ตัว C นำหน้า เช่น CIO, CTO อันนี้ก็แล้วแต่ว่าแต่ละบริษัทจะเน้นที่ข้อมูลหรือเน้นที่เทคโนโลยี/นวัตกรรมใหม่ๆ

ผู้บริหารไอทีต้องมีศาสตร์ในตัวหลายด้าน สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้?มองมิติต่างๆ ของธุรกิจได้ทะลุปรุโปร่ง สามารถทำเน้นโนโลยีมาประยุกต์ใช้งานกับธุรกิจตนเองได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งสามารถสร้างให้บุคคลากรในหน่วยงานใช้เทคโนโลยีได้อย่างชาญชลาด

ตัวอย่าง อาชีพระดับบริหารไอที เช่น

– CEO (Chief Executive Officer) เน้นทุกด้าน
– CIO (Chief Information Officer) เน้นด้านระบบข้อมูล
– CTO (Chief Technology Officer) เน้นด้านเทคโนโลยี
– CFO (Chief Finance Officer) เน้นด้านการเงิน
– COO (Chief Operation Officer) เน้นด้านปฏิบัติการหรือดำเนินการ
– CMO (Chief Marketing Officer) เน้นด้านการขาย
– General Manager ผู้จัดการทั่วไป
– IT Manager ผู้จัดการฝ่ายไอที
– MIS Manager
– IT Division Manager
– IT Sales Manager
– IT Audit Division Manager
– IT System Division Manager
– Business Development Manager
– IT Specialist
– MIS Supervisor
– ICT Manager
– Assistant IT Manager

2.อาชีพสายผู้ดูแลระบบเครือข่าย (Network Admin Jobs)

สำหรับสายผู้ดูแลระบบเครือข่าย (นิยมเรียกกันในชื่อ Admin)จะเป็นผู้ดูแลระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กร สามารถแบ่งได้ 3 สายย่อย ตามชนิดระบบปฏิบัติการที่ใช้งาน ดังนี้

2.1 ผู้ดูแลระบบเครือข่ายองค์กรขนาดใหญ่ ระบบปฏิบัติการที่ใช้จะเป็น

– UNIX เช่น IBM AIX, Sun Solaris
* สามารถบริหารจัดการแอคเคาน์ผู้ใช้, ติดตั้งระบบเซิร์ฟเวอร์ต่างๆ อาทิ DNS, Web, Mail, Proxy, Database, Backup, …

2.2 ผู้ดูแลระบบเครือข่ายองค์กรขนาดกลาง ระบบปฏิบัติการที่ใช้จะเป็น

– Windows Server (2003, 2008)
– Linux Server เช่น RedHat, Slackware, SuSE, Debiun, Ubuntu, CentOS
– BSD Server เช่น FreeBSD, OpenBSD, NetBSD

2.3 ผู้ดูแลระบบเครือข่ายองค์กรขนาดเล็ก ระบบปฏิบัติการที่ใช้จะเป็น

– Windows Server (2003, 2008)
– Linux Server เช่น RedHat, Ubuntu, CentOS
– BSD Server เช่น FreeBSD
– ระบบเซิร์ฟเวอร์สำเร็จรูป เช่น IPCop, pfSense, ClarkConnect, Endian ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่นี่)

สำหรับตำแหน่งงานสายเครือข่ายมีหลายตำแหน่งด้วยกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่ว่าหน่วยงานที่เราไปสมัครเขาเน้นใช้ระบบปฏิบัติการค่ายไหน เราก็ศึกษา NOS ตัวนั้นเป็นพิเศษ

ตัวอย่าง อาชีพสายเครือข่าย เช่น

– System Engineer วิศวกรระบบ
– System Administrator ผู้ดูแลระบบเครือข่าย
– Network Engineer วิศวกรเครือข่าย
– Network Administrator
– IT Administrator
– IT System Admin
– IT Security
– Network Security
– Internet Security Manager
– IT Network Infrastructure
– Network Operation เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการและดูแลแครือข่าย
– Lotus Notes/Domino Admin
– Internet Security Systems Engineer
– Linux Administrator

3.อาชีพสายนักเขียนโปรแกรม (Programmer Jobs)

สำหรับสายนักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมเมอร์ นักศึกษาที่เรียนสายวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science) หรือสายวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering) น่าจะได้เปรียบเป็นพิเศษ อาชีพนักเขียนโปรแกรมนั้นผู้เขียนต้องมองข้อมูลต่างๆ ในเชิง Logic เข้าใจศาสตร์และรูปแบบการเขียนโปรแกรม

จริง ๆ แล้วในปัจจุบันมีหนังสือสอนจำนวนมาก หรือสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากอินเทอร์เน็ตได้เช่นกัน สำหรับในเมืองไทยเราส่วนตัวผมอยากแนะนำให้ใช้หลักทฤษฎี Copy and Modify มิใช่ใช้ทฤษฎี Copy and Copy (ที่ว่านี้เนื่องจากในปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ลักษณะ Open Source?ให้ดาวน์โหลดมาใช้งานฟรีจำนวนมาก หลังดาวน์โหลดมาแล้วน่าจะสามารถปรับแต่งข้อมูลส่วนโค้ดเพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง) แต่หากเขียนด้วยตนเองได้ โดยไม่พึ่งพาซอสโค้ดต่างชาติ จะเป็นการดีมากๆ

สำหรับอาชีพสายการเขียนโปรแกรมนั้น สามารถแยกได้ 2 ส่วนคือ

3.1 งานโปรแกรมแบบ Offline (นิยมในอดีต)

– ภาษาที่เน้นใช้พัฒนาอาทิ เช่น C, C++, VB, Delphi, JAVA, Cobol
– ฐานข้อมูลที่นิยมใช้ เช่น MS Access, MS SQL Server, Oracle, Sybase, DB2

3.2 งานโปรแกรมแบบ Online (นิยมในปัจจุบัน) เน้นใช้งานผ่านโปรแกรมเว็บบราวเซอร์เช่น IE, Firefox, Opera

– ภาษาที่เน้นใช้พัฒนาอาทิ เช่น PHP, ASP, ASP.NET, JSP, PERL, PYTHON, RUBY (ไปดูข้อมูลสายเว็บไซ์ด้านล่างเพิ่มเติม)
– ฐานข้อมูลที่นิยมใช้ เช่น MySQL, PostgreSQL, MS Access, MS SQL Server
– โปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์ เช่น Apache, IIS, Tomcat

ตัวอย่าง อาชีพสายการเขียนโปรแกรม เช่น

– Programmer
– Senior Programmer
– Cobol Programmer เน้นภาษาโคบอล
– Application Developer
– Application Developer (JAVA) เน้นภาษาจาวา
– Senior Java Developer เน้นภาษาจาวา
– Senior Test Engineer
– E-Commerce Developer
– Game Programmer
– Application Engineer
– VB Developer
– Senior Java Programmer
– PHP Programmer เน้นภาษาพีเฮสพี
– .Net Programmer (C#, VBT.NET) เน้นเทคโนโลยีดอทเน็ต อาจาใช้ภาษา C# หรือ VBT.NET
– Java Programmer
– Software Tester
– Ajax Programmer
– Software Engineer
– J2EE Programmer
– iPhone Application Developer เน้นใช้งานบนไอโฟน
– IT Development Specialist
– Project Manager

4.อาชีพสายนักวิเคราะห์และออกแบบระบบ(System Analyst Jobs)

นักวิเคราะห์ระบบงานจะทำหน้าที่วิเคราะห์ระบบงาน ก่อนการส่งงานให้โปรแกรมเมอร์เขียนโปรแกรมสำหรับอาชีพสายนี้หากผ่านงานสายการเขียนโปรแกรมมาก่อนจะเป็นการดีมาก

ตัวอย่าง อาชีพสายนักวิเคราะห์และออกแบบระบบ เช่น

– Systems Analyst
– Business Analyst
– Senior System Analyst
– System Analyst AS/400
– System Analyst (RPG,AS400/IBM)

5. สายเว็บไซต์ (Website)

สำหรับอาชีพสายเว็บไซต์ ปัจจุบันนับเป็นอาชีพ ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก?ตัวอย่าง อาชีพสายเว็บไซต์ เช่น

– Web Programmer / Web Developer ทำหน้าที่พัฒนาแอพลิเคชั่น
– Web Designer ทำหน้าที่ออกแบบความสวยงานของเว็บไซต์
– Web Content ทำหน้าที่ดูแลข้อมูลก่อนนำมาใส่ลงเว็บไซต์
– Web Marketing ทำหน้าที่ทำการตลาด ทำรายได้ให้ตัวเว็บไซต์สร้างมูลค่าขึ้นมาได้
– Web Master / Web Manager ทำหน้าที่ดูแลและควบคุมเว็บ
– E-Commerce Developer พัฒนาระบบหน้าร้านขายของ
– Creative Web Designer
– Senior Web Designer
– Flash Programmer เน้นพัฒนาแอพลิเคชั่นด้วย Action Script

6.อาชีพสายฐานข้อมูล (Database Jobs)

ทำหน้าที่ดูแลฐานข้อมูลขององค์กร?ตัวอย่าง อาชีพสายสายฐานข้อมูล เช่น

– Database Administrator (DBA)
– PL/SQL Developer
– Lotus System Analyst
– Database Architect
– Oracle Database Administrator (DBA)
– Data Warehouse Specialist
– Oracle Programmer
– Data Warehouse Developer
– Oracle Forms Developer
– DB2 Database Administrator
– Lotus Notes Developer
– MySQL Engineer
– MySQL DBA

7. อาชีพสาย CRM/ERP

ทำหน้าที่ดูแลฐานข้อมูลลูกค้า และระบบจัดการบุคคลากรในหน่วยงาน
CRM : Customer Relationship Management
ERP : Enterprise Resource Planning
ซอฟต์แวร์ยอดนิยมในปัจจุบัน เช่น SAP (Systems, Applications and Products)

ตัวอย่าง อาชีพสาย CRM/ERP เช่น

– ERP Specialist
– SAP Basis Administrators
– SAP Specialist
– SAP Analyst : MM
– SAP Analyst : SD
– SAP Apprication Manager
– SAP Project Manager
– CRM Manager
– CRM Program Management
– CRM Business Data Manager

8. อาชีพสายคอมพิวเตอร์กราฟิก (Computer Graphic Jobs)

ตัวอย่าง อาชีพสายคอมพิวเตอร์กราฟิก เช่น

– Graphic Designer
– Computer Graphic
– Graphic Arts Designer

9.อาชีพสายการออกแบบ/เขียนแบบด้วยคอมพิวเตอร์/งานสามมิติ/Animation

ตัวอย่าง อาชีพสายออกแบบ/เขียนแบบด้วยคอมพิวเตอร์/งานสามมิติ?เช่น

– Draftman (พนักงานเขียนแบบ)
– 3D Product Design Officer
– Interactive Media Editor
– Creative
– 3D Modeling
– 3D Character Animator
– 3D Visualizer
– Computer Animation

10.?อาชีพสายสื่อผสม (Multimedia Jobs)

ตัวอย่าง อาชีพสายสื่อผสม เช่น

– Multimedia Designer

11. อาชีพสายที่ปรึกษาไอที (IT Consultant Jobs)

ตัวอย่าง อาชีพสายที่ปรึกษาไอที เช่น

– IT Consultant
– Business Intelligence Consultant
– ERP Consultant
– Datawarehousing Consultant
– CRM Consultant

12. อาชีพสายผู้ตรวจสอบไอที (IT Audit Jobs)

ตัวอย่าง อาชีพสายผู้ตรวจสอบไอที เช่น

– IT Audit (ผู้ตรวจสอบระบบสารสนเทศ)

13.?อาชีพสายผู้สอนหลักสูตรไอที / ฝึกอบรมด้านไอที

ตัวอย่าง อาชีพสายผู้สอนหลักสูตรไอที / ฝึกอบรมด้านไอที เช่น

– Computer Teacher (อาจารย์สอนคอมพิวเตอร์)
– IT Trainner (วิทยากรอบรม/บรรยายด้านไอที)
– Instructor (ผู้สอนหลักสูตรคอมพิวเตอร์)

14. อาชีพสายผู้สนับสนุนไอที (IT Support Jobs)

ตัวอย่าง อาชีพสายผู้สนับสนุนไอที เช่น

– IT Support
– IT Support Officer
– Technical Support Engineer
– Technicial Support
– Maintenance Engineer
– Technical Services Engineer
– Helpdesk Supervisor
– IT Help Desk
– Customer Support
– IT Maintenance

15.?อาชีพสายพนักงานขายอุปกรณ์ไอที (IT Sales Jobs)

ตัวอย่าง อาชีพสายพนักงานขายอุปกรณ์ไอที เช่น

– IT Sales
– Sales Executive
– Senior Sales Executive
– Product Specialist
– Product Manager
– Sales Engineer (IT)
– Sales Engineer (Solution)
– Sales Supervisor
– Pre-sales Consultant
– Sales Representative
– Project Sales
– Pre-sales Engineer

16. อาชีพสายพนักงานไอที

ตัวอย่าง อาชีพสายพนักงานไอที เช่น

– IT Officer
– System Operator
– IT Operator
– Computer Operator

17. อาชีพสายไอทีอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ตัวอย่าง อาชีพสายไอทีอื่นๆ ที่น่าสนใจ เช่น

– นักเขียนหนังสือ (IT Book)
– นักเขียนนิตยสาร/หนังสือพิมพ์ (Columnist)
– นักข่าวสายไอที (Reporters)
– บรรณาธิการนิตยสารไอที

18. IT ทางด้าน Analytics ด้วย

– CAO – Chief Analytics Officer
– Customer Analytics
– Data Mining/Data Engineer/Analytics Consultants
– Data Scientist
– Big Data Engineer/Hadoop Specialistจะบอกว่างานทางด้านการวิเคราะห์ข้อมูล, Big Data, Analytics ทั้งหลายแหล่กำลังเป็นที่สนใจของตลาดครับ?น้องที่เรียน IT อาจจะเคยเรียน Data Mining มากันบ้าง มันต่อยอดได้เยอะ ถ้าชอบ ไปยาวเลยครับ

ปล. สายงานนี้ แตกต่างจากงาน Database Admin, Data Warehouse, BI Developer ค่อนข้างมากเลยทีเดียว อย่าสับสนกัน

19. สายงานตรวจสอบคุณภาพ Software / Hardware

มีตำแหน่งงานคือ

Test Manager
Test Lead
Senior Software Tester หรือบางทีก็เรียก Senior Software Test Engineer
บางที่ก็จะมี Middle Tester ด้วย
สุดท้ายก็คือ Junior Tester

ซึ่งบางบริษัทก็จะเรียกตำแหน่งนี้เป็น QA ( Quality Assurance ) ซึ่ง ถ้าจะว่ากันตามตรงงาน QA กว้างกว่าขอบเขตของการ Test มหาศาลครับ


 

ที่มาสมาชิกพันทิพ ShInObUKooH

อ้างอิง http://pantip.com/topic/31930621